ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา Leech lime, Makrut lime
Leech lime, Makrut lime
Citrus hystrix DC.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Rutaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus hystrix DC.
 
  ชื่อไทย มะกรูด
 
  ชื่อท้องถิ่น - มะขู่(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ไฮ่สะหวิย(ปะหล่อง), มะกิ้ว(ไทลื้อ), มะขูด(คนเมือง), มะขู(กะเหรี่ยงเชียงใหม่) - มะขูด มะขุน (ภาคเหนือ)ม ส้มกรูด ส้มมั่วผี (ภาคใต้), มะหูด (หนองคาย), โกร้ยเขียด (เขมร), มะขู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) [3]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ เป็นไม้ยืนต้นทรงพุ่มขนาดเล็ก สูง 2-8 เมตร แตกกิ่งก้าน ลำต้นและกิ่งมีหนามแข็ง
ใบ เป็นใบประกอบชนิดลดรูป จากก้านใบแผ่เป็นแผ่นใบขนาดใหญ่เท่ากับแผ่นใบ และมีใบย่อย 1 ใบ ใบประกอบเรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่กว้าง 2.5-7 ซม. ยาว 4-7 ซม. ผิวใบเรียบเป็นมัน ใบมีสีเขียวแก่ค่อนข้างหนา มีต่อมน้ำมัน กลิ่นหอมมาก
ดอก สีขาว ออกเดี่ยวๆ หรือเป็นกระจุก เกิดตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอก 4-8 กลีบ รูปรี ร่วงง่าย เมื่อบานเต็มที่เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-2 ซม.
ผล ค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 3-7 ซม. ผิวขรุขระ เมื่อสุกมีสีเหลือง ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก [3]
 
  ใบ ใบ เป็นใบประกอบชนิดลดรูป จากก้านใบแผ่เป็นแผ่นใบขนาดใหญ่เท่ากับแผ่นใบ และมีใบย่อย 1 ใบ ใบประกอบเรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่กว้าง 2.5-7 ซม. ยาว 4-7 ซม. ผิวใบเรียบเป็นมัน ใบมีสีเขียวแก่ค่อนข้างหนา มีต่อมน้ำมัน กลิ่นหอมมาก
 
  ดอก ดอก สีขาว ออกเดี่ยวๆ หรือเป็นกระจุก เกิดตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอก 4-8 กลีบ รูปรี ร่วงง่าย เมื่อบานเต็มที่เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-2 ซม.
 
  ผล ผล ค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 3-7 ซม. ผิวขรุขระ เมื่อสุกมีสีเหลือง ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ผล ใช้เพิ่มรสชาติอาหารประเภทต่างๆให้มีรสเปรี้ยว เช่น แกงและน้ำพริก, ใบ หั่นเป็นฝอยๆ ใส่อาหารทำให้มีกลิ่น หอม(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน,กะเหรี่ยงเชียงใหม่,ปะหล่อง)
ผล ปรุงรสอาหารให้มีรสเปรี้ยว, ใบ ใช้ปรุงอาหารเพื่อให้ มีกลิ่นหอม เช่น ซอยเป็นฝอยหรือฉีกเป็นชิ้นเล็กๆโรยลง ในแกง(คนเมือง)
- ใบและเปลือกผล สับตากแห้งใช้เข้ายาห่มตำรับไทลื้อ บำรุงร่างกายและผิวพรรณ(ไทลื้อ)
- สรรพคุณความเชื่อ ผิวผลสดและผลแห้ง รสปร่า หอมร้อน แลมหน้ามืด ลมวิงเวียน บำรุงหัวใจ ขับลมในลำไส้ ขับระดู ขับผายลม
ผล รสเปรี้ยว เป็นยาขับเสมหะ แก้ไอ น้ำลายเหนียว กัดเถาด้านในท้อง แกระดูเสีย ฟอกโลหิต และขับผายลม แก้ปวดท้องในเด็ก สระผม ขจัดรังแค ช่วยให้ผมดกดำ
ราก รสเย็นจืดแก้พิษฝีภายใน เสมหะเป็นโทษ ปรุงผสมกับสมุนไพรอื่นเป็นยาแก้ลมจุกเสียด ไข้กำเดา ถอนพิษผิดสำแดง
น้ำผลมะกรูด รสเปรี้ยว แก้ศอเสมหะ กัดเสมหะ แก้ท้องอืดเฟ้อ ช่วยเจริญอาหาร เมื่อใช้ดองยาจะมีสรรพคุณเป็นยาฟอกโลหิตสำหรับสตรี และช่วยป้องกันยาบูดเน่า
เนื้อผลมะกรูด รสเปรี้ยว หอมเย็น แก้อาการคันศีรษะ
ใบ รสหอม แก้ไอ อาเจียนเป็นโลหิต ช้ำใน อาการจุกเสียด ขับลมในลำไส้ ดับกลิ่นคาว [3]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[3] สมพร ภูติยานันต์, 2551. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 13 : สมุนไพรแต่งสี กลิ่น รส. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่.
 
  สภาพนิเวศ พบทั่วไป ปลูกได้ดีในดินทุกชนิด
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง